วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

พลังงาน จ่อเลิกประกาศสำรวจปิโตรเลียม รอแก้ ก.ม.

พลังงาน จ่อโละประกาศเชิญชวนสำรวจปิโตรเลียม รอแก้ ก.ม. คาดใช้เวลา 3 เดือน ยืนยันคงรูปแบบระบบแบ่งปันผลผลิต หรือ PSC ไว้ที่ 3 แปลง พร้อมนำเข้าก๊าซฯ สำรองเตรียมไว้ และซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้าน ขณะที่ ”วิษณุ” ย้ำจะเร่งพิจารณา ก.ม.ให้เร็ว...

เมื่อวันที่ 25 ก.พ. นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ระบุเตรียมยกเลิกประกาศเชิญชวนสำรวจปิโตรเลียมฉบับเดิม เพื่อรอการแก้ไขกฎหมายที่คาดว่าจะใช้เวลา 3 เดือน ก่อนจะออกประกาศเชิญชวนฉบับใหม่ หลังจากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการให้ผู้สนใจยื่นเอกสารเข้ามา คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 4 เดือน ในการเปิดรับเอกสาร ทั้งนี้ ยืนยันการเปิดสัมปทานสำรวจปิโตรเลียมรอบที่ 21 จะกำหนดการเจรจารูปแบบของ ระบบแบ่งปันผลผลิต (PSC) ไว้ที่ 3 แปลงเดิมตามที่เคยประกาศก่อนหน้านี้

สำหรับขั้นตอน หลังจากนี้จะยกเลิกประกาศเชิญชวนฉบับเดิมที่ประกาศออกมาก่อนหน้า และมีเพียงรายเดียวที่ยื่นข้อเสนอเข้ามาแล้ว ซึ่งคงต้องมีการคืนเอกสารกลับไป และในวันที่ 26 ก.พ. จะมีการประชุมคณะกรรมการร่วม เพื่อหาแนวทางแก้ไขข้อกฎหมายตาม พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องต่อไป

“การยกเลิกประกาศเชิญชวนครั้งนี้ อาจส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือบ้าง แต่ก็ต้องทำกติกาใหม่เพื่อให้มีความเหมาะสมมากขึ้น และหากการเปิดสัมปทานและมีการสำรวจด้วยความรวดเร็ว ก็จะได้วางแผนการบริหารจัดการได้อย่างเหมาะสม ในเบื้องต้นภาครัฐได้เตรียมความพร้อมด้วยการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว ที่คลังของ ปตท. ซึ่งรองรับได้ 5 ล้านตัน/ปี และอยู่ระหว่างก่อสร้างคลังแห่งที่ 2 รองรับได้รวม 10 ล้านตัน/ปี คิดเป็นปริมาณก๊าซธรรมชาติได้เพียง 1,400 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน เท่านั้น”

ขณะที่ปริมาณการใช้ในประเทศมีมากถึง 5 พันล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ซึ่งการจัดหาพลังงานได้เร็วที่สุดคือการซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้าน เป็นต้น โดยการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมกว่าจะมีการสำรวจและการสร้างแท่นผลิตต้องใช้เวลา 3-5 ปี ซึ่งมีการลงทุนในระดับหมื่นล้านบาท

ด้าน นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย กล่าวถึงการแก้ไขกฎหมายก่อนพิจารณาเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เห็นว่าอยู่ในวิสัยที่ทำได้ เพราะไม่ถึงขนาดไปยกร่างฯ มาทั้งฉบับ แต่เป็นการแก้ไขบางเรื่องเท่านั้น จึงมอบกระทรวงพลังงานเป็นเจ้าของเรื่อง โดยฟังจากคณะกรรมการระหว่างภาคประชาชนกับกระทรวงพลังงาน ซึ่งต้องไปหาข้อสรุปเรื่องเนื้อหามา จากนั้นนำมายกร่างฯ และเข้าสู่ที่ประชุม ครม. เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณากฎหมาย และส่งไปยัง สนช.

“รัฐบาลจะเร่งประสานกับ สนช. ว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องเร่งด่วนของรัฐบาล ทุกคนรอ อยากมีกติกาที่ชัดเจน แต่ไม่กล้าตอบว่าจะใช้ระยะเวลาร่างกฎหมายเท่าไร แต่คาดหมายอยากให้เร็ว”.


ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/483501

หลี่ สุวัณณา

About หลี่ สุวัณณา

Author Description here.. Nulla sagittis convallis. Curabitur consequat. Quisque metus enim, venenatis fermentum, mollis in, porta et, nibh. Duis vulputate elit in elit. Mauris dictum libero id justo. Mauris dictum libero id justo.

Test

© 2013 THAINEWSDO. WP Converted by .
Proudly Powered by Blogger.